โครงการประกวดการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการศึกษา หัวข้อ “พลิกโฉมการศึกษา ด้วยนวัตกรรมจากครูผู้สร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ผ่านเทคโนโลยีเอไอ”

Facebook
X
Email

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ได้เข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย ทั้งยังมีส่วนร่วมและมีบทบาทในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่คุณครูหรืออาจารย์ผู้สอนสามารถใช้ AI เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน โครงการประกวดนวัตกรรมการศึกษาฯ นี้ จึงจัดขึ้นโดยมีหลักการและเหตุผลคือ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้ AI ในกลุ่มสถาบันการศึกษา ครู อาจารย์ มีองค์ความรู้และประสบการณ์ในการใช้งาน AI รวมถึงเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI อย่างสร้างสรรค์ และมีเป้าหมายที่จะได้ผลลัพธ์เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือ AI เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้เรียน ด้วยการใช้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของครูอาจารย์ผู้สอนในการนำความสามารถของ AI มาใช้อย่างเต็มที่และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน โครงการนี้สะท้อนให้เห็นว่า หากใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพก็จะนำมาซึ่งคุณค่าและสามารถพัฒนามนุษย์และสังคมได้ในที่สุด

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ครู/อาจารย์ที่มีความสนใจและมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ AI ในการจัดทำแผนการเรียนการสอนในรายวิชาอย่างสร้างสรรค์ เข้าร่วมการประกวดในโครงการฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมองค์ความรู้ในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ และตั้งเป้าหมายที่จะได้ผลลัพธ์เป็นแผนการสอนที่มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือ AI สร้างความเปลี่ยนแปลงซึ่งจะนำไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ของนักเรียน

ภาพรวมการประกวด

1. ผู้สนใจส่งผลงานประกวดจะต้องลงทะเบียนสมัครในวันที่ 15 มิ.ย. – 31 ก.ค.68 ทางทางเว็บไซต์ https://training-2025-5.aiforthai.in.th/
2. ส่งข้อเสนอโครงการฯ ที่จะใช้เข้าร่วมประกวด ตั้งแต่วันที่ 1-31 ก.ค. 68 สามารถดูตัวอย่างรายละเอียดและตัวอย่างของข้อเสนอโครงการได้ที่
(ดาวน์โหลดตัวอย่างข้อเสนอโครงการ
3. เชิญชวนผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันร่วมฟังบรรยายหัวข้อ “เอไอในมือครู- จุดประกายไอเดียนวัตกรรมเพื่อการศึกษา สร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ที่ครูออกแบบได้” ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 ในรูปแบบ online เวลา 18:00 – 20:00 น. เพื่ออธิบายรูปแบบ กฎ กติกาของการประกวด รวมถึงให้ความรู้และแนวทาง ที่จะกระตุ้นให้ผู้สมัครมองเห็นทิศทางในการสร้างสรรค์ผลงานได้ ผ่านโปรแกรม Webex ต่อไปนี้

Webinar topic: เอไอในมือครู จุดประกายไอเดียนวัตกรรมเพื่อการศึกษา สร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ที่ครูออกแบบได้
Date and time: Tuesday, July 15, 2025 5:30 PM | (UTC+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
Join link:
https://meeting-nstda.webex.com/meeting-nstda/j.php?MTID=m51abc119ffb51af45e3984bf3bce2499

Webinar number: 2511 816 9798
Webinar password: dDrSFGXy322 (33773499 when dialing from a video system)
Join by phone
Use VoIP only

4. ในรอบแรกคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษารวมถึงภาคเอกชนจะคัดเลือกข้อเสนอโครงการที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ AI เพื่อสร้างนวัตกรรมที่จะนำไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ของนักเรียนมากที่สุด จำนวน 20 ทีม เพื่อผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน
5. การแข่งขันรอบตัดสินหรือชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นภายในเดือนสิงหาคมด้วยวิธีการนำเสนอผลงานในรูปแบบ PITCHING ผ่านระบบ Online โดยการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดในทุกกรณี
6. ผลงานที่ชนะจะมีการนำไปใช้เผยแพร่เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยว AI Literacy ผ่านช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่

กำหนดการแข่งขัน

15 มิ.ย. – 31 ก.ค.68 เปิดลงทะเบียนรับสมัคร ทางเว็บไซต์ https://training-2025-5.aiforthai.in.th/
1-31 ก.ค. 68 ส่งข้อเสนอโครงการฯ ทางเว็บไซต์ https://forms.gle/vcH2FtrrgCUFSN8QA
15 ก.ค. 68
เวลา 18:00 – 20:00 น.
อบรมออนไลน์ หัวข้อ“เอไอในมือครู จุดประกายไอเดียนวัตกรรมเพื่อการศึกษา
สร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ที่ครูออกแบบได้”
4 ส.ค. 68 รอบคัดเลือกข้อเสนอโครงการฯ
7 ส.ค. 68 ประกาศผลทีมที่ผ่านรอบคัดเลือก
19 ส.ค. 68 รอบตัดสิน นำเสนอผลงานในรูปแบบ Pitching ผ่านระบบ Online

เงินรางวัล

  • รางวัลชนะเลิศ จำนวน 20,000 บาท
  • รางวัลที่ 2       จำนวน 15,000 บาท
  • รางวัลที่ 3       จำนวน 10,000 บาท
  • รางวัลชมเชย    จำนวน 3,000 บาท (10 รางวัล)

เงื่อนไขในการสมัคร

ผู้สมัครต้องเป็นครูหรืออาจารย์ สังกัดสถาบันการศึกษาภายในประเทศไทย โดยให้มีสมาชิกในทีม 1 ถึง 3 ท่าน (อนุญาตให้สมาชิกอยู่คนละสังกัดได้) ทั้งนี้ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และสอดคล้องกับจริยธรรมด้านปัญญาประดิษฐ์

ประเภทของสื่อที่จะส่งเข้าร่วมแข่งขัน

สำหรับผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ แบบออกเป็น 2 รอบ โดยมีรายละเอียดังต่อไปนี้

1. รอบคัดเลือก
ข้อเสนอโครงการฯ จะอยู่ในรูปแบบเอกสาร PDF สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างเอกสารการเขียนข้อเสนอโครงการฯ ได้ตามลิงค์นี้ (ดาวน์โหลดตัวอย่างข้อเสนอโครงการ)

2. รอบตัดสินหรือรอบชิงชนะเลิศ
สำหรับทีมที่ผ่านการตัดเลือกเข้าสู่รอบนี้ ดำเนินการส่งผลงาน 2 ส่วนดังนี้

         2.1 ข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ ในรูปแบบเอกสาร PDF ไฟล์
         2.2 ลิงค์ไฟล์เอกสารสำหรับนำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมประกวด (Canva)

สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งเพื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

ข้อเสนอโครงการฯ ซึ่งมีรายละเอียดตามที่ผู้จัดการแข่งขันกำหนด ได้แก่

  1. ชื่อโครงการ ทีมพัฒนาโครงการ ระบุหัวหน้าทีม และผู้ร่วมพัฒนา
  2. สาระสำคัญของโครงการ คำสำคัญ (Keywords)
  3. หลักการและเหตุผล
  4. วัตถุประสงค์
  5. ปัญหาหรือประโยชน์ที่เป็นเหตุผลให้ควรประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านเอไอเพื่อการศึกษา     
  6. เป้าหมายและขอบเขตของโครงการ
  7. รายละเอียดของการพัฒนา
    7.1 เนื้อเรื่องย่อ (Story Board) ภาพประกอบ แบบจำลอง หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างผลงานที่สื่อให้เห็นผลงานที่จะพัฒนาขึ้นหรือพัฒนาขึ้นบางส่วนแล้ว
    7.2 เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยผู้พัฒนาต้องให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
    7.3 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ Generative AI หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประยุกต์ใช้งาน
    7.4 รายละเอียดที่จะพัฒนาผลงาน ได้แก่ Input/Output Specification (ข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์) ระบุว่าในการใช้งานผลงานนี้ จะต้องใส่ข้อมูลอะไรเข้าไปบ้าง (Input) และเมื่อใช้งานแล้วจะได้ผลลัพธ์ อะไรกลับมา (Output)
    7.5 ขอบเขตและข้อจำกัดของผลงานที่พัฒนา
  8. บรรณานุกรม (Bibliography) ระบุแหล่งอ้างอิงอย่างน้อย 3 แห่ง เช่น จากหนังสือ บทความ วารสารทางวิชาการ หรือ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

เกณฑ์การตัดสิน

  1. ความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหากับผู้เรียน      
  2. ความคิดสร้างสรรค์                                           
  3. การใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ                    
  4. การประยุกต์ใช้จริงได้                             
  5. ความชัดเจนของการนำเสนอ                     
  6. สอดคล้อง AI Literacy

เงื่อนไขในการผลิตนวัตกรรมฯ

  1. ผลงานจะต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากโครงการอื่น ไม่คัดลอกหรือใช้สื่อที่ละเมิดลิขสิทธิ์ประกอบในผลงาน ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์การใช้งานโปรแกรม หากตรวจพบการกระทำที่ผิดกฎหมายผู้พัฒนาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นในทุกกรณี และผลการตัดสินจะถือเป็นโมฆะ
  2. ผลงานเป็นของผู้พัฒนา โดยอนุญาตให้ เนคเทค สวทช. และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ผลงานผ่านโซเชียลมีเดีย และอื่นๆ รวมถึงพัฒนาต่อยอดผลงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ประกาศนียบัตร

ประกาศนียบัตรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมแข่งขันประกวดในโครงการฯ (ได้รับทุกท่านสำหรับผู้สมัคร และส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในรอบคัดเลือก)
  2. ประกาศนียบัตรสำหรับผลงานได้รางวัลประเภทต่าง ๆ (สำหรับทีมที่ได้รับรางวัล)

โดยประกาศนียบัตรออกให้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์เท่านั้น และจัดส่งให้กับผู้เข้าร่วมประกวดทุกท่านผ่านทาง E-mail

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

LINE Open Chat: AI BoostUP
E-mail: chatchawal.sangkeettrakarn@nectec.or.th
Facebook Inbox: AI Thailand Community